★ ★ ★ 【 MORE THAN A GOOD PRICE 】 ID Line : 1malls ★ Hot Line : 0877815068 Mr.Krit ★ Time 24 Hours. ★ ★ ★
HOT_LINE

ค้นหารายชื่อ

Wednesday, September 5, 2012

คน 5 ประเภท ตามหลัก ขงจื้อ


ขงจื๊อได้รับการยกย่องว่าเป็นทั้งนักปกครอง และนักบริหารที่สามารถมุ่งหน้าสั่งสอน การประพฤติชอบ และการปกครองชอบ สั่งสอนให้ประพฤติความดีประโยชน์ และความสุขในโลกนี้มากกว่าโลกหน้า หลักคำสอนของขงจื๊อได้เป็นปรัชญามากกว่าศาสนาใดๆ ขงจื๊อสอนว่า สังคมจะมีระเบียบเรียบร้อย ถ้าทุกคนรู้จักหน้าที่ และปฏิบัติตามความสัมพันธ์ต่อกัน 5 ประการ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตร พี่กับน้อง สามีกับภรรยา ผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง และมิตรกับมิตร


คำสอนของขงจื๊อ ตลอดจนคารมที่คมคายแฝงไว้ซึ่งคติธรรมอันลึกซึ้งได้อยู่ในจิตใจของคนจีนเป็นเวลานับพันๆปี คนจีนยึดถือคำสอนเหล่านี้ในการดำรงชีวิตและกลายเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ชาวจีนเป็นชาติที่รักษาขนบธรรมเนียมอย่างเหนียวแน่นจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 นี้


คำสอนของขงจื๊อ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง อุดมคติของปัญญาชนอย่างเขา คือคำสอนที่ว่าด้วย ความประพฤติของชาว "หยู" (ผู้ที่เชื่อในวิถีของวิญญูชน) ซึ่งไม่ล้าสมัยเลย แม้มองจากสายตาของคนยุคนี้ ขงจื๊อกล่าวว่า ชาวหยูที่แท้ จะต้องแสวงหา ความรู้ สร้างเสริมคุณธรรม ความสามารถอย่างไม่เหนื่อยหน่ายท้อแท้ เขาจะต้องพยายามทำสิ่งที่ตนศึกษาเล่าเรียนมาให้ปรากฏเป็นจริง และพร้อมที่จะรับใช้บ้านเมืองเมื่อมีโอกาส


(Analects XII, 11, trans. Legge (from wikipedia)
ในเส้นทางการพัฒนาตัวเอง ตามทัศนะของขงจื๊อนั้น ขงจื๊อได้จำแนกคนออกเป็น 5 ประเภทคือ สามัญชน บัณฑิต ปราชญ์ วิญญูชน และอริยบุคคล โดยเรียงลำดับจากขั้นต่ำมาขั้นสูง ซึ่งสะท้อน วิวัฒนาการทางจิต ของคนผู้นั้นด้วย กล่าวคือ

ระดับที่ 1 " สามัญชน " คือคนที่ไม่ค่อยเคารพปฏิบัติตามกฎระเบียบ ไม่สามารถกล่าวเขียนวาจาที่สะท้อนความมีสติปัญญา ไม่เคยคิดที่จะคบนักปราชญ์ ชีวิตไม่มีเป้าหมาย รู้แต่เรื่องเฉพาะหน้า ไม่มีอุดมคติที่ลึกซึ้งกว้างไกล ไม่มีความเป็นตัวของตัวเองในเชิงปณิธาน ชอบเปลี่ยนความคิดไปตาม "กระแส" ที่เข้ามากระทบ และไม่ยืนหยัดในหลักการ

ระดับที่ 2 " บัณฑิต " คือบุคคลที่แม้ไม่เข้าใจเหตุผลที่ลึกซึ้ง ไม่สามารถบำเพ็ญคุณธรรมอย่างหมดจด แต่ก็มีความรู้และความเชื่อบางอย่าง ทำงานและประพฤติตัวตามหลักการบางอย่าง เพราะฉะนั้น ถึงระดับความรู้ความเข้าใจจะมีข้อจำกัดก็ยึดกุมความรู้ความเข้าใจได้ในระดับจำกัดนั้นอย่างแม่นยำ ถึงระดับความสามารถในการพูดจะมีข้อจำกัด ก็เข้าใจเหตุผลที่กำลังพูดอย่างแท้จริง ถึงระดับความสามารถในการสื่อด้วยความประพฤติจะมีจำกัด ก็ระมัดระวังความประพฤติของตัวเองเสมอ พวกเขาจึงสามารถเผชิญความจริงภายใต้ข้อจำกัดของตัวเอง

ระดับที่ 3 " ปราชญ์ " คือบุคคลที่ประพฤติตัวอยู่ในทำนองคลองธรรม มีวาจาเที่ยงแท้เป็นที่น่าเชื่อถือ มีความรู้ และคุณธรรมมากพอที่จะเป็นแบบอย่างแก่ราษฎรทั่วแผ่นดินได้

ระดับที่ 4 " วิญญูชน " คือบุคคลที่ศึกษาความรู้บ่มเพาะคุณธรรมอย่างทุ่มเท พูดจริงทำจริง ไม่บ่นโทษ ไม่นินทา ไม่พยาบาท มีคุณธรรมสูงส่ง แต่ไม่เย่อหยิ่งทะนงตน มีสติปัญญาเลิศล้ำ แต่กลับมีท่าทีอบอุ่น นอบน้อม จนดูคล้ายไร้สติปัญญา ทั้งๆ ที่แท้ที่จริงแล้วมีความสามารถอันลึกล้ำหาผู้ใดเสมอยาก

ระดับที่ 5 " อริยบุคคล " คือบุคคลที่มีจิตใจสูงส่งน่าบูชาดุจฟ้าดิน แต่สามารถปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม มีสติปัญญาแจ่มจ้า ดุจแสงแห่งสุริยันจันทรา สามารถหยั่งรู้รากเหง้าของสรรพสิ่ง ยามดำเนินมรรคธรรม จะประหนึ่งฟ้าดินหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตโดยไม่ลำเลิก และเหล่าราษฎรทั้งปวงก็หารู้ไม่ว่ารับบุญคุณท่านแล้ว คนทั่วไปจึงไม่ทราบว่า ท่านได้ทำอะไรบ้าง ไม่ทราบว่าท่านมีคุณธรรมสูงส่งเพียงใด ดุจเดียวกับที่ไม่เข้าใจความลับของฟ้าดิน


วิพากษ์คำสอนของขงจื๊อ
ในทัศนะของคนจำนวนไม่น้อยที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาตะวันออกไม่ลึกซึ้งนัก คำสอนของขงจื๊อดูเป็นสิ่งที่เชย ล้าสมัยและเข้าใจยาก ทั้งๆ ที่คำสอนของขงจื๊อได้ผ่านการพิสูจน์จากกาลเวลาอันยาวนาน จนสามารถคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ มิหนำซ้ำ บางด้านของคำสอนขงจื๊อ ยังเคยมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาด้วย แม้จะเคยมีบางช่วงที่คำสอนของขงจื๊อถูกปิดกั้น และทำลายในแผ่นดินจีน ช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม แต่คำสอนของขงจื๊อก็สามารถฟื้นฟูฐานะเป็นที่ยอมรับได้ไม่เสื่อมคลาย นั่นเป็นเพราะ มีความจริงแท้ดำรงอยู่ในบางส่วนของคำสอนของขงจื๊อ ที่เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์อย่างถ่องแท้ โดยที่ในช่วงสองพันกว่าปีมานี้ แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักในระดับโครงสร้างเชิงลึก


จุดเด่นในคำสอนของขงจื๊อที่สังคมไทยควรบูรณาการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของตนก็คือ คำสอนที่โน้มน้าวให้คนเราใฝ่รู้ รักการศึกษา และรู้จักนำความรู้ที่ได้ไปทำประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมือง และสังคมโดยรวม โดยผ่านการเดินบนวิถีของวิญญูชน (บัณฑิตปัญญาชนผู้เปี่ยมคุณธรรม) ที่สามารถครองชีวิตอย่างสงบ ซื่อสัตย์ สุจริต และสมบูรณ์พูนสุขในโลกภายใน ได้โดยไม่ต้องไปเบียดเบียนเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หลักสำคัญที่มีคนพูดถึงขงจื้อมากที่สุดคือ หลักเรื่องความรับผิดชอบ ขงจื๊อให้ความสำคัญเรื่องครอบครัวว่าเป็นหัวใจของสังคม ครอบครัวเป็นจุดคิดของขงจื๊อ เขากล่าวถึงความสัมพันธ์ 5 คู่ ดังนี้


ผู้ปกครอง กับ ประชาชน - ความจงรักภักดี
พ่อ กับ ลูก – ความกตัญญู
สามี กับ ภรรยา – ความซื่อสัตย์
พี่ กับ น้อง – ความสามัคคี
เพื่อน กับ เพื่อน – ความซื่อสัตย์

ที่มา : http://smoothcent.in.th/thread-2223-1-1.html

No comments:

Post a Comment


MusicPlaylistView Profile
Create a playlist at MixPod.com